ที่คั่นหนังสือ ไอเทมสำคัญของนักอ่าน ♡

ที่คั่นหนังสือ FAHFAHSWORLD Cover

ที่คั่นหนังสือ ไอเทมสำคัญของนักอ่าน ♡

“ที่คั่นหนังสือ” อีกหนึ่งไอเทมที่นักอ่านและคนรักหนังสือควรจะมีพกติดตัว เป็นของสำคัญที่จะช่วยจดจำหน้าหนังสือที่อ่านค้างไว้ได้ ทำให้เราสามารถกลับมาอ่านหน้าเดิมได้อย่างรวดเร็ว ไม่เสียเวลาในการค้นหาใหม่ และถึงแม้จะดูเป็นของทั่วไปไม่มีอะไรมากมาย แต่จริง ๆ แล้วเจ้าที่คั่นหนังสือก็มีประวัติที่ยาวนานและมีความหลากหลายมากเลยนะ

ประวัติของที่คั่นหนังสือ

ก่อนที่จะมีที่คั่นหนังสือใช้แบบทุกวันนี้ มีการสันนิษฐานว่าในสมัยก่อนคนเรามักจะชอบหยิบเอาของใกล้ตัว เช่น เศษผ้า เศษฟาง ของใช้ หรือแม้กระทั่งอาหารมาใช้คั่นหนังสือ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็อาจเน่าเปื่อยและทำให้หนังสือเกิดความเสียหายได้ นอกจากนี้การใช้วิธีพับมุมหน้าหนังสือแทนการหาอะไรมาคั่น แต่นี่ก็ไม่ใช่วิธีที่ดีนัก…เพราะนอกจากจะทำให้หน้ากระดาษเป็นรอยพับแล้ว การพับมุมกระดาษในหลาย ๆ หน้าก็อาจทำให้หนังสือโป่งพอง จนไม่สามารถปิดลงได้ด้วย ภายหลังจึงได้มีการพัฒนาที่คั่นหนังสือขึ้นมา เพื่อถนอมหนังสือไม่ให้เสียหายจากการคั่นหน้ากระดาษ

♡ ที่คั่นหนังสือที่เก่าแก่ที่สุด

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พบว่าที่คั่นหนังสือที่เก่าแก่ที่สุดนั้นเป็นที่คั่นหนังสือที่ติดอยู่กับปกหนังสือโบราณอย่าง Coptic codex ทำมาจากหนังลูกวัว มีอายุตั้งแต่ศตวรรษที่ 6 เลยนะ

♡ ที่คั่นหนังสือในยุคกลางมีความหลากหลาย เน้นการใช้งาน

ต่อมาในช่วงศตวรรษที่ 13-15 มีการพัฒนาของที่คั่นหนังสือให้มีความหลากหลายมากขึ้น แต่ก็ยังเน้นการใช้งานมากว่าความสวยงามอยู่ ซึ่งหนึ่งในที่คั่นหนังสือของยุคนี้จะเป็นแบบที่เย็บยึดติดอยู่กับสันหนังสือ มักทำจากเชือก ด้าย และหนังสัตว์ หรือบางครั้งก็มีการเพิ่มฟังก์ชันของแถบที่สามารถเลื่อนขึ้นหรือลงได้ เพื่อทำเครื่องหมายชี้ตำแหน่งในหน้าหนังสือให้ละเอียดขึ้นกว่าแค่คั่นหน้า

ที่คั่นหนังสือ แบบเย็บติดกับสันหนังสือ
ที่คั่นหนังสือ แบบมีแถบเลื่อนขึ้นลงได้

♡ ที่คั่นหนังสือในช่วงศตวรรษที่ 18-19 จนถึงปัจจุบัน

ที่คั่นหนังสือรูปแบบใหม่ ๆ ที่เราอาจคุ้นเคยกันในยุคปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงศตวรรษที่ 18-19 นี้ เช่น ที่คั่นหนังสือริบบิ้นเส้นไหม ที่มักผูกติดอยู่กับส่วนบนของสันหนังสือและมีความยาวลงมาถึงขอบล่างของหน้ากระดาษ โดยเรามักจะเห็นที่คั่นหนังสือประเภทนี้กับหนังสือปกแข็งและตามคัมภีร์ไบเบิล หรือจะเป็นที่คั่นหนังสือยอดนิยมในยุคนั้นอย่างที่คั่นหนังสือทอด้วยเส้นไหม มีชื่อเรียกว่า Stevengraphs หรือจะเป็นที่คั่นหนังสือที่ทำจากพลาสติก ซึ่งมีการผลิตขึ้นมาในยุคนี้เป็นชิ้นแรก

ที่คั่นหนังสือ แบบ Stevengraphs

ซึ่งในช่วงปลายของศตวรรษที่ 18 เริ่มมีการให้ความสำคัญกับความสวยงามของที่คั่นหนังสือมากขึ้น มีกิจการการทำที่คั่นหนังสือเกิดขึ้นมากมาย ทำให้ที่คั่นหนังสือมีความหลากหลายทั้งในส่วนของขนาด วัสดุ และดีไซน์

นอกจากนี้ด้วยความสวยงาม รวมถึงความนิยมที่มากขึ้นก็ทำให้ที่คั่นหนังสือในยุคนี้มักถูกใช้เป็นของขวัญหรือของที่ระลึกเสียส่วนใหญ่ อีกทั้งยังใช้เป็นสื่อโฆษณาได้อีกด้วยนะ โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันนี้ที่มีการแข่งขันทางธุรกิจสูงอย่างมาก

ความหลากหลายของที่คั่นหนังสือ

ถ้าพูดถึงความหลากหลายของที่คั่นหนังสือ จะให้ยกมาทั้งหมดก็คงไม่ไหว เพราะว่ามีเยอะมาก อาจแบ่งตามรูปแบบดีไซน์ หรือจะตามวัสดุที่เลือกใช้ เราจึงขอยกมาบางส่วนที่เป็นที่นิยมในปัจจุบันก่อนเลย

ที่คั่นหนังสือ รูปแบบต่างๆ ในปัจจุบัน
  • ที่คั่นหนังสือทั่วไป อาจทำมาจากกระดาษ, พลาสติก
  • ที่คั่นหนังสือแม่เหล็ก
  • ที่คั่นหนังสือแบบปักลาย
  • ที่คั่นหนังสือเข้ามุม
  • ที่คั่นหนังสือริบบิ้นแบบพันรอบ
  • ที่คั่นหนังสือแบบพู่
  • ที่คั่นหนังสือแบบคลิปหนีบ
  • ที่คั่นหนังสือแบบที่มีบางอย่างยื่นอยู่ด้านบน

ประโยชน์ของที่คั่นหนังสือ

  • คั่นหน้าหนังสือเพื่อประหยัดเวลาในการกลับมาอ่านซ้ำ
  • คั่นหน้าหนังสือ เก็บไฮไลท์เนื้อหาส่วนที่ชอบ หรือสำคัญ
  • ช่วยให้หนังสือไม่เกิดความเสียหายจากการคั่นด้วยสิ่งอื่นที่ไม่เหมาะสม เป็นอีกหนึ่งในการถนอมหนังสือ
  • เป็นแฟชั่นเพื่อความสวยงาม
  • เป็นของขวัญ และของที่ระลึก
  • สามารถใช้เป็นสื่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์

เจ้าที่คั่นหนังสือมีประโยชน์และมีความน่าสนใจมาก ๆ เลยใช่ไหมทุกคน~
หากใครสนใจอยากมีที่คั่นหนังสือน่ารัก ๆ ไว้ใช้หรือเก็บสะสมบ้าง สามารถเข้าไปช้อปกันได้เลยที่ www.fahfahsworld.com ♡ นักอ่านตัวยงและคนรักหนังสือไม่ควรพลาด

  • EaseAround|MAGNET BOOKMARK
    EaseAround|MAGNET BOOKMARK
    85.00 ฿